แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตย DEMOCRACY จะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่ความเสมอภาคและอิสรภาพได้ถูกระบุว่าเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว
ความเป็นประชาธิปไตย จึงควรประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ
1. อิสรภาพ สภาวะที่คนเราสามารถแสวงหาความสุขได้ทุกเมื่อ หรือทำทุกอย่างได้โดยเสรี
2. เสมอภาค ความเท่าเทียมกันในการแสดงพฤติกรรม หรือใคร ๆ ก็ทำอย่างนั้นได้
ประชาธิปไตยจึงควรหมายถึง สภาวะที่ทุกคนมีโอกาสแสวงหาความสุขได้อย่างเท่าเทียมกัน
"We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endorsed by their Creator with certain inalienable Rights, that among these are Life, Liberty and the pursuit of Happiness" Thomas Jefferson
"เราถือว่าความจริงต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งอยู่ในตัวเอง, นั่นคือมนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน และพระเจ้าผู้สร้างได้มอบสิทธิบางประการที่จะเพิกถอนมิได้ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้น ได้แก่ ชีวิต, เสรีภาพ และการเสาะแสวงหาความสุข" ทอมัส เจฟเฟอร์สัน
ประชาธิปไตย เป็นระบอบการบริหารจัดการ ที่อำนาจบริหารจัดการประเทศมาจากประชาชน เป็นการปกครองที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
-หลักการสำคัญ หรือสาระสำคัญ ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย 10 ประการ
1. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน กล่าวคือ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจในกิจการต่างๆ ร่วมกัน
2. หลักอำนาจอธิปไตยโดยปวงชน กล่าวคือ ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยการเลือกตัวแทนของตนเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา
3. หลักอำนาจอธิปไตยเพื่อปวงชน กล่าวคือ ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศต้องปกครอง เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนใหญ่มิใช่เพื่อหมู่คณะของตนเอง
4. หลักเหตุผล ระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอย่างกว้างขวาง
5. หลักเสียงข้างมาก เมื่อมีการอภิปรายแสดงข้อคิดเห็นกันแล้ว การหาข้อยุติต้องเกิดจากการออกเสียงลงคะแนนเสียง มติของที่ประชุมเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับ
6. หลักความยินยอมพร้อมใจ เป็นการได้รับฉันทานุมัติจากปวงชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยให้เข้ามาเป็นตัวแทนใช้อำนาจของประชาชนภายในระยะเวลาที่กำหนด
7. หลักประนีประนอม เมื่อเกิดข้อขัดแย้งไม่มากนัก ก็อาจมีการประนีประนอมโดยยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นเกณฑ์ โดยไม่ต้องมีการลงคะแนนเพื่อหาข้อยุติ
8. หลักความเสมอภาค ประชาธิปไตยให้ความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถือว่า มนุษย์ที่เกิดมามีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเสมอภาค
9. หลักเสรีภาพ ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะต้องให้เสรีภาพแก่ปวงชนภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน การชุมนุม การศึกษาอบรม การรวมตัวกันเป็นสมาคม
10. หลักการปกครองตนเอง เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลในชุมชนหรือท้องถิ่นได้มีโอกาสปกครองตนเอง เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมสามารถรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาของตนเองได้ดีกว่าบุคคลอื่น
เนื่องจากปัญหาใหญ่จากการอยู่ร่วมกันในสังคม เมื่อทุกคนต่างก็มีโอกาสเท่า ๆ กัน จึงเกิดการแย่งชิงกัน อันอาจทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นได้ จึงเกิดแนวคิดที่จะค้นหารูปแบบการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดสันติสุขขึ้นโดยทั่วกัน โดยมีข้อตกลงว่า "เพื่อความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทุกคนสามารถแสวงหาความสุขใส่ตนได้โดยเสรีแต่ไม่รบกวนผู้อื่น" ในการนี้จึงพร้อมใจกันมอบหมายให้กลุ่มบุคคลหนึ่งเรียกว่า "เจ้าหน้าที่"ทำหน้าที่ดูแลให้เกิดความสัมพันอันดีตามข้อตกลงนี้
ระบอบประชาธิปไตยจึงประกอบด้วย = ประชาชน + เจ้าหน้าที่ Democracy = People + Authority
โดยมี รัฐธรรมนูญเป็นข้อผูกพันร่วมกัน
รัฐจึงประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ ประชาชน กับ ข้าราชการ โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นตัวกำหนดบทบาทว่าใครคือประชาชน ใครคือเจ้าหน้าที่ และแต่ละองค์ประกอบมีขอบเขตอำนาจ และมีหน้าที่อย่างไร จึงจะเหมาะสม มีความเสมอภาค และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
*พลเมือง คือบุคคลที่ทำมาหากินด้วยการลงทุนผลิตสินค้าและบริการเพื่อแสวงหารายได้และผลกำไร โดยมีหน้าที่จ่ายเงินภาษีเป็นค่าสาธารณะประโยชน์ มีอำนาจอิสระในการเลือก หรือถอดถอนใครก็ได้ ให้มาทำหน้าที่จัดการเงินส่วนกลางและทรัพย์สินสาธารณะ
*เจ้าหน้าที่ คือบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจากประชาชน และได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการค่าใช้จ่ายเพื่อสาธารณะประโยชน์ รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศอย่างคุ้มค่า
พัฒนาการประชาธิปไตยของไทย แบ่งออกเป็น 2 ด้าน
1. พัฒนาการของฝ่ายบริหารประเทศ อันได้แก่ ข้าราชการประจำ, รัฐวิสาหกิจ, องค์กรอิสระ และนักการเมือง รวมทั้งบุคคลที่กินเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน พัฒนาการด้านนี้ได้แก่ระบบสภา การเข้าสู่อำนาจบริหารประเทศ เพื่อตำแหน่งของการจัดการงบประมาณ ทั้งเงินงบประมาณประจำ และงบเงินกู้จากต่างประเทศ ที่เป็นเงินก้อนมหาศาลถึง 5,000,000,000,000.00 บาท (ห้าล้านล้านบาท) ในข้อนี้ใช้การลงมติในสภา ซึ่งย่อมแน่นอนว่ารัฐบาลเสียงข้ามากก็ย่อมได้รับความไว้วางใจในการโหวดด้วยเสียงข้างมากเสมอมา
ระบบพรรคการเมือง และข้อกำหนดที่มาและคุณสมบัติของนักการเมือง ที่ากำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรค ทำให้ประชาชนโดยทั่วไปเป็นผู้ด้อยโอกาสโดยปริยาย
ระบบเลือกตั้ง เป็นไปแบบไม่ 100% เพราะมีบัญชีรายชื่อที่ประชาชนไม่มีส่วนในการเลือก และการแบ่งเขตเรียงเบอร์ ก็เป็น สส.ที่พรรคการเมืองส่งเข้าประกวด ประชาชนไม่ได้ส่งเองจึงไม่รู้จักคุ้นเคยกัน ไม่เข้าใจการเป็นอยู่หรือพื้นฐานการครองชีพของท้องถิ่น จึงไม่สามารถเข้าถึงและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้เลย
ระบบบริหารราชการ แบบกระทรวง ทบวง กรม รูปแบบเผด็จการรวมศูนย์โดยพฤตินัย มีกฏและประเพณีเป็นเอกเทศ ผูกขาดอำนาจตัดสินวินิจฉัยความผิด แต่งตั้ง โยกย้าย ให้คุณให้โทษข้าราชการเสียเอง โดยที่ใครก็แตะต้องไม่ได้ เป็นองค์กรนอกกรอบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
พัฒนาการประชาธิปไตยของด้านนี้ ยังคงล่องลอยอยู่กลางอากาศ หาจุดสัมผัสพื้นฐานของประชาธิปไตยยังไม่ได้เลย
การแก้ไข(ที่ไม่ใช่การล้มล้าง) เป็นการกระจายอำนาจและให้ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งทำได้โดย ทุกกระทรวงต้องมี สภาผู้แทนที่มาจากประชาชน (ไม่ใช่อดีตข้าราชการ หรือแค่รัฐมนตรีคนเดียวอย่างปัจจุบัน) เข้าไปสออส่องดูแล พิจารณา วินิจฉัย อนุมัติ ทุกกระทรวง ทบวง กรม (ตัวอย่างเช่น ศาล ก็มีคณะลูกขุนตัดสินใจวินิจฉัย ตุลากาลก็เป็นเพียงประธานการพิพากษา หรือประธานที่ประชุมโดยมีกรอบอำนาจหน้าที่ควบคุมการพิจารณาความให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับตามวาระ คือ รับคำฟ้อง สืบพยาน และการลงมติวินิจฉัยของคณะลูกขุน)
ถึงแม้ว่าเราจะมีสภาผู้แทน สภาเขต สภาจังหวัด สภาเทศบาล ฯลฯ แต่ ถ้าสมาชิกเหล่านั้นเป็นอดีตข้าราชการละก็ สิ่งที่เราได้คือพลเมืองจะถูกกีดกันการมีส่วนร่วมในการเป็นสมาชิกสภาอย่างเด็ดขาด
2. พัฒนาการของพลเมือง อันได้แก่ บุคคลที่ทำมาหาเลี้ยงชีพโดยไม่ได้พึ่งพาเงินเดือนจากรัฐบาล (ยกเว้นเงินคนชรา 500 บาท แต่ข้าราชการได้เงินบำนาญเดือนละ 40,000 บาท) พลเมืองส่วนใหญ่ ถูกปลูกฝังให้พอใจในสิ่งที่ตนมี ให้มีความอดทน และคำปลอบประโลมจากนักการเมือง ว่าเลือกฉันแล้วท่านจะอยู่ดีเป็นสุข เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจในอำนาจอธิปไตยที่พลเมืองมีอยู่ ด้วยการชี้นำว่ามีทางเดียวที่พลเมืองจะใช้อธิปไตยของตนได้ โดยผ่านนักการเมืองที่ตนส่งมาให้เลือกเท่านั้น เป็นวิธีที่สะดวก และง่ายดาย เพียงกาชื่อผู้สมัครในวันเลือกตั้งก็พอ
แต่พัฒนาการประชาธิปไตยของประชาชนยังคงเดินหน้าอย่างรวดเร็ว และยังคงไม่เป็นไปในทิศทางที่นักวิชาการทั้งหลายคาดเดาเท่าไรนัก เพราะต่างก็ยืนอยู่ในตำแหน่งที่ต่าง และห่างกัน
ทุกข์ที่เกิดกับนักวิชาการ และนักการเมือง เป็นผลมาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ได้ริดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการ ริดรอนอำนาจบัญชาการและตำแหน่งทางการเมืองของนักการเมือง นักวิชาการและนักการเมืองจึงมุ่งไปที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสนองความต้องการของตน
แต่ทุกข์ของชาวบ้านเกิดจากการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐไม่เป็นไปตามความต้องการของปวงชน จนทำให้เขารูสึกไม่ปลอดภัยหรือไม่ผาสุกในการดำเนินชีวิต ประชาชนจึงมุ่งไปที่ การปลดปล่อยนักโทษการเมือง การลดอำนาจเจ้าหน้าที่ และการถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยการใช้ระบบเลือกตั้งมาแทนการจัดตั้งหรือระบบบัญชีรายชื่อนั่นเอง
การแก้ไข(ที่ไม่ใช่การล้มล้าง) การกระจายอำนาจ ที่ให้พลเมืองเข้าไปมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยตัดสินในรูปแบบสภายังคงเป็นแนวความคิดและแรงบรรดาลใจในเรื่องการปกครอง ความเป็นคนที่ใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดสาขาที่ตนเป็นตัวแทน ย่อมเอื้อประโยชน์ให้สังคมถ้าเขาได้เข้าไปทำหน้าทีในสภา ความรู้ลึกรู้จริง รู้ถึงปัญหาในเชิงพฤตินัย ย่อมสร้างความเที่ยงธรรมได้ในที่สุด
สันติสุขจะเกิดขึ้นได้ เมื่อทุกภาคส่วนทำงานด้วยความถูกต้อง และเป็นไปตามพันธสัญญาที่ตกลงร่วมกัน แม้ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีผู้แทน จะถูกเลือกใช้เพื่อการบริหารในหลายประเทศ แต่สันติสุขก็ยังมิได้บังเกิดในหลายประเทศเช่นกัน เพราะไม่สามารถสร้างความเสมอภาคให้บังเกิดในสังคมได้ จึงมีแนวความคิดที่จะนำ หลักธรรมาภิบาล Good Governance มาใช้เพื่อเสริมสร้างให้เกิดความเสมอภาคในสังคม อันจะนำมาซึ่งสันติสุขให้จงได้
หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หรือหลักแห่งการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (สาระสำคัญอยูที่การกำกับดูแลที่ดี) อันประกอบด้วย 2 องค์ประกอบคือ
1. ภาคราชการ หรือภาครัฐ ( Public Sector ) ซึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างและปฏิรูปการเมือง กฎหมายและการบริหารราชการอย่างสุจริต และขยันหมั่นเพียร
2. ภาคราษฎร หรือภาคประชาชนหรือองค์กรต่าง ๆ ( Civil Society ) จะมีส่วนในการเกื้อหนุนในการดำเนินกิจกรรมการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยการระดมกลุ่มต่าง ๆ ให้ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เสนอแนวความคิด รวมถึงสามารถตรวจสอบทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทำงานด้วยความถูกต้อง และเป็นไปตามพันธสัญญาที่ตกลงร่วมกัน
ทั้งสององค์ประกอบต้องปฏิบัติการร่วมกันโดยยึดมั่นใน 6 หลักการคือ
1. หลักนิติธรรม
ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่างๆให้ทันสมัย และเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมนิยมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของตัวบุคคล
2. หลักคุณธรรม
ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม มีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบวิชาชีพสุจริต
3. หลักความโปร่งใส
ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์การในทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในระบบการบริหารจัดการประเทศ เร่งรัดการก่อตั้งองค์การภาคสังคมที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้ครบถ้วน เช่น สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งเมื่อมีการส่งเสริมการรวมตัวของประชาชนเป็นองค์การต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนอื่นๆ ให้มี ความเข้มแข็ง
4. หลักความมีส่วนร่วม
ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ ประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติอื่นๆ
5. หลักความรับผิดชอบ
ได้แก่ การตระหนักและสำนึกในสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคม ใส่ใจปัญหาสาธารณะ กระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา การเคารพในความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
6. หลักความคุ้มค่า
ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม มีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เชิงปฏิบัติการตามหลักธรรมาภิบาลนี้ ทุกองค์กร ทั้งภาคราชการ ภาคราษฎรจะต้องสนับสนุนหลักทั้ง 6 ประการ และร่วมกันปรับบทบาท ปรับวิธีการทำงานของแต่ละองค์ประกอบให้สนับสนุนเกื้อกูลกัน ให้เกิดกำลังที่จะสามารถใช้ผลประโยชน์อย่างคุ้มค่าและทั่วถึง ทุกกลุ่ม ดังนี้คือ
1.ครัวเรือน คือ ประชาชนตระหนักว่าตนเองมีอำนาจ กล้าใช้อำนาจบน ความรับผิดชอบและเป็นธรรม
2.ประชาสังคม คือ ภาคการเมือง ต้องประสานสิทธิอำนาจของชุมชนให้เข้ากับการปกครองส่วนท้องถิ่น
3.นิติบุคคล คือ การบริหารการจัดการ ธุรกิจ เอกชน รัฐวิสาหกิจให้ตรวจสอบได้โปร่งใส มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
4.กระทรวง หรือภาคราชการ คือ การกระจายอำนาจ มีการบริหารจัดการที่ดี มีการตรวจสอบอย่างเป็๋นระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
เพื่อให้สังคมไทยพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาลอย่างอย่างเสมอภาคกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแยกประเภทประชาชนให้ชัดเจน ว่าใครจัดอยู่ในภาคส่วนใด แล้วจัดเป็นสมาชิกในภาคส่วนนั้นๆ โดยมีสภาธรรมาภิบาลทำหน้าที่กำกับดูแล
สภาธรรมาภิบาลหรือสภาสูง ทำหน้าที่กำกับดูแล อันประกอบด้วยการรวมตัวกันจากตัวแทนของทั้งสามองค์กรอย่างละเท่าๆกัน คือ
1. จากภาครัฐ(Public Sector) หนึ่่งส่วน เรียกว่า สมาชิกรัฐสภา ที่ได้รับการเลือกตั้งจากข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ (ทุกกระทรวง ทบวง กรม ต้องมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น ปลัดกระทรวงจึงเป็นสมาชิกรัฐสภาโดยตำแหน่ง)
2. ภาคประชาชน ( Civil Society ) หนึ่งส่วน เรียกว่า สมาชิกสภาพลเมือง (สภาผู็แทนราษฎร) ที่ได้รับเลือกตั้งจากบุคคลทั่วไป ได้มาจากตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในสังคม ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของภาครัฐ และภาคเอกชน อาจได้มาจาก องค์กรบริหารส่วนต่าง ๆ เช่นตำบล อำเภอ จังหวัด ที่มาจากการเลือกตั้ง 100%
สภาธรรมาภิบาล (Good Governance Council) หรือสภาสูง ทำหน้าที่กำกับ ดูแล และประสานงานเชื่อมโยง การทำงานทั้ง 2 สภา ให้มีการสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงให้เกิดในสังคมไทยอย่างมั่นคง ยั่งยืน
จากแนวความคิดที่ไม่ยึดติตตัวบุคคล สมาชิกของแต่ละองค์กรย่อมยึดโยงกับชีวิตประจำวันของแต่ละภาคส่วน และย่อมมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความต้องการของสมาชิกในองค์กร เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงหลักการและเหตุผล เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาร่วมกันได้เป็นอย่างดี ส่วนเรื่องของการกำหนดที่มาและคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี ขอฝากให้เป็นภาระหน้าที่ของ สภาธรรมาภิบาลเป็นผู้กำหนดเพื่อความเหมาะสมในทุกด้านต่อไป
หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หรือหลักแห่งการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (สาระสำคัญอยูที่การกำกับดูแลที่ดี) อันประกอบด้วย 2 องค์ประกอบคือ
1. ภาคราชการ หรือภาครัฐ ( Public Sector ) ซึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างและปฏิรูปการเมือง กฎหมายและการบริหารราชการอย่างสุจริต และขยันหมั่นเพียร
2. ภาคราษฎร หรือภาคประชาชนหรือองค์กรต่าง ๆ ( Civil Society ) จะมีส่วนในการเกื้อหนุนในการดำเนินกิจกรรมการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยการระดมกลุ่มต่าง ๆ ให้ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เสนอแนวความคิด รวมถึงสามารถตรวจสอบทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทำงานด้วยความถูกต้อง และเป็นไปตามพันธสัญญาที่ตกลงร่วมกัน
ทั้งสององค์ประกอบต้องปฏิบัติการร่วมกันโดยยึดมั่นใน 6 หลักการคือ
1. หลักนิติธรรม
ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่างๆให้ทันสมัย และเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมนิยมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของตัวบุคคล
2. หลักคุณธรรม
ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม มีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบวิชาชีพสุจริต
3. หลักความโปร่งใส
ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์การในทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในระบบการบริหารจัดการประเทศ เร่งรัดการก่อตั้งองค์การภาคสังคมที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้ครบถ้วน เช่น สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งเมื่อมีการส่งเสริมการรวมตัวของประชาชนเป็นองค์การต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนอื่นๆ ให้มี ความเข้มแข็ง
4. หลักความมีส่วนร่วม
ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ ประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติอื่นๆ
5. หลักความรับผิดชอบ
ได้แก่ การตระหนักและสำนึกในสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคม ใส่ใจปัญหาสาธารณะ กระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา การเคารพในความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
6. หลักความคุ้มค่า
ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม มีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เชิงปฏิบัติการตามหลักธรรมาภิบาลนี้ ทุกองค์กร ทั้งภาคราชการ ภาคราษฎรจะต้องสนับสนุนหลักทั้ง 6 ประการ และร่วมกันปรับบทบาท ปรับวิธีการทำงานของแต่ละองค์ประกอบให้สนับสนุนเกื้อกูลกัน ให้เกิดกำลังที่จะสามารถใช้ผลประโยชน์อย่างคุ้มค่าและทั่วถึง ทุกกลุ่ม ดังนี้คือ
1.ครัวเรือน คือ ประชาชนตระหนักว่าตนเองมีอำนาจ กล้าใช้อำนาจบน ความรับผิดชอบและเป็นธรรม
2.ประชาสังคม คือ ภาคการเมือง ต้องประสานสิทธิอำนาจของชุมชนให้เข้ากับการปกครองส่วนท้องถิ่น
3.นิติบุคคล คือ การบริหารการจัดการ ธุรกิจ เอกชน รัฐวิสาหกิจให้ตรวจสอบได้โปร่งใส มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
4.กระทรวง หรือภาคราชการ คือ การกระจายอำนาจ มีการบริหารจัดการที่ดี มีการตรวจสอบอย่างเป็๋นระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
เพื่อให้สังคมไทยพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาลอย่างอย่างเสมอภาคกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแยกประเภทประชาชนให้ชัดเจน ว่าใครจัดอยู่ในภาคส่วนใด แล้วจัดเป็นสมาชิกในภาคส่วนนั้นๆ โดยมีสภาธรรมาภิบาลทำหน้าที่กำกับดูแล
สภาธรรมาภิบาลหรือสภาสูง ทำหน้าที่กำกับดูแล อันประกอบด้วยการรวมตัวกันจากตัวแทนของทั้งสามองค์กรอย่างละเท่าๆกัน คือ
1. จากภาครัฐ(Public Sector) หนึ่่งส่วน เรียกว่า สมาชิกรัฐสภา ที่ได้รับการเลือกตั้งจากข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ (ทุกกระทรวง ทบวง กรม ต้องมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น ปลัดกระทรวงจึงเป็นสมาชิกรัฐสภาโดยตำแหน่ง)
2. ภาคประชาชน ( Civil Society ) หนึ่งส่วน เรียกว่า สมาชิกสภาพลเมือง (สภาผู็แทนราษฎร) ที่ได้รับเลือกตั้งจากบุคคลทั่วไป ได้มาจากตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในสังคม ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของภาครัฐ และภาคเอกชน อาจได้มาจาก องค์กรบริหารส่วนต่าง ๆ เช่นตำบล อำเภอ จังหวัด ที่มาจากการเลือกตั้ง 100%
สภาธรรมาภิบาล (Good Governance Council) หรือสภาสูง ทำหน้าที่กำกับ ดูแล และประสานงานเชื่อมโยง การทำงานทั้ง 2 สภา ให้มีการสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงให้เกิดในสังคมไทยอย่างมั่นคง ยั่งยืน
จากแนวความคิดที่ไม่ยึดติตตัวบุคคล สมาชิกของแต่ละองค์กรย่อมยึดโยงกับชีวิตประจำวันของแต่ละภาคส่วน และย่อมมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความต้องการของสมาชิกในองค์กร เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงหลักการและเหตุผล เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาร่วมกันได้เป็นอย่างดี ส่วนเรื่องของการกำหนดที่มาและคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี ขอฝากให้เป็นภาระหน้าที่ของ สภาธรรมาภิบาลเป็นผู้กำหนดเพื่อความเหมาะสมในทุกด้านต่อไป